วันศุกร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2556


ลายไทย


นับได้ว่าเป็นศิลปะและวัฒนธรรมอันมีค่าของชาติ เป็นที่เชิดหน้าชูตาและได้รับคำ ชื่นชมจากนานาประเทศว่าเป็นศิลปะที่วิจิตรสวยงามไม่แพ้ชาติใดในโลก กำเนิดขึ้นมาด้วยสติปัญญา ความคิด และฝีมือศิลปินไทยที่คิดประดิษฐ์สร้างสรรค์มาจากธรรมชาติ เช่น ดอกบัว ใบไม้ เปลวไฟ ให้เป็นลวดลายต่างๆ จัดจังหวะได้อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อยกลมกลืนกันเป็นอย่างดี ซึ่งดอกไม้ ใบไม้ นับว่าเป็นต้นแบบหนึ่งของลายไทยเพราะทั้งสองสิ่งนี้เป็นที่เคารพและชอบที่สุดของคนไทย ดังนั้นเราจึงเห็นได้ว่าดอกไม้ ใบไม้ จะไปปรากฏเป็นลวดลายต่างๆ ใบไม้ที่พบบ่อยในลวดลายไทยได้แก่ ใบเทศ และใบพุดตาน ส่วนดอกไม้ ได้แก่ ดอกบัว ที่มักเขียนเป็นรูปดอกบัวตูมก่อนที่จะพลิกแพลงให้เป็นรูปพิสดารต่อไป ลายบัวที่ปรากฏเห็นในงานศิลปะลายไทย เช่น บัวคว่ำ บัวหงาย เพราะดอกบัวเป็นดอกไม้พิเศษเป็นพันธุ์ที่มีสกุล คนไทยทั่วไปจึงถือว่าดอกบัวเป็นดอกไม้ชั้นสูง เป็นสัญลักษณ์แห่งความสะอาด สำหรับเปลวไฟก็ถือเป็นต้นบัญญัติของลายไทยเช่นกัน ลักษณะของเปลวไฟนั้นคดโค้งไปตามกำลังลม ดังนั้นศิลปินเกิดแรงบันดาลใจจึงคิดดัดแปลงเป็นลายไทยที่งดงามกลมกลืนไปกับสิ่งต่างๆ ได้หลายรูปแบบ ซึ่งเราสามารถเห็นได้จากลายกนกเปลวต่างๆ นั่นเอง


1158310681.jpg
royalwhiteelephant2.jpg
























18593_1935253328.jpg




จิตรกรรมไทย


หมายถึง ภาพเขียนที่มีลักษณะเป็นแบบอย่างของไทย ที่แตกต่างจากศิลปะของชนชาติอื่นอย่างชัดเจน ถึงแม้จะมีอิทธิพลศิลปะของชาติอื่นอยู่บ้าง แต่ก็สามารถดัดแปลง คลี่คลาย ตัดทอน หรือเพิ่มเติมจนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของตนเองได้อย่างสวยงาม ลงตัว น่าภาคภูมิใจ และมีวิวัฒนาการทางด้านด้านรูปแบบ 
และวิธีการมาตลอดจนถึงปัจจุบัน ซึ่งสามารถพัฒนาต่อไปอีกในอนาคต 
ลายไทย เป็นส่วนประกอบของภาพเขียนไทยใช้ตกแต่งอาคาร สิ่งของ เครื่องใช้ต่างๆ เครื่องประดับ ฯลฯ เป็นลวดลายที่มีชื่อเรียกต่างๆ กันซึ่งนำเอารูปร่างจากธรรมชาติมาประกอบ เช่น ลายกนก ลายกระจัง ลายประจำยาม ลายเครือเถา เป็นต้น หรือเป็นรูปที่มาจากความเชื่อและคตินิยม เช่น รูปคน รูปเทวดา รูปสัตว์ รูปยักษ์ เป็นต้น 

จิตรกรรมไทย เป็นวิจิตรศิลป์ ซึ่งส่งผลสะท้อนให้เห็นวัฒนธรรมอันดีงามของชาติ มีคุณค่าทางศิลปะและเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้า เรื่องที่เกี่ยวกับศาสนา ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ชีวิตความเป็นอยู่ วัฒนธรรมการแต่งกาย ตลอด 
จนการแสดงการเล่มพื้นเมืองต่าง ๆ ของแต่ละยุคสมัยและสาระอื่น ๆ ที่ประกอบกันเป็นภาพจิตรกรรมไทย งานจิตรกรรมให้ความรู้สึกในความงามอันบริสุทธิ์น่าชื่นชม เสริมสร้างสุนทรียภาพขึ้นในจิตใจมวลมนุษยชาติได้โดยทั่วไป 
วิวัฒนาการของงานจิตรกรรมไทย แบ่งออกตามลักษณะรูปแบบทางศิลปกรรม ที่ปรากฎในปัจจุบันมีอยู่ 2 แบบ คือ
1. จิตรกรรมไทยแบบประเพณี
2. จิตรกรรมไทยแบบร่วมสมัย

เครดิต :  https://jangdraw.wikispaces.com/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2

กระจังฟันปลา 
  • ผันปลา หรือกระจังฟันปลา ทรงอยู่ในรูปสี่เหลี่ยมด้านเท่า มีรูปเป็นสามเหลี่ยมยอดเรียวแหลม เป้นที่มาของกระจังตาอ้อย หรือกระจังใบเทศ ถือเป็นกระจังตัวต้นหรืออีกนัยหนึ่งจะเรียกว่าเป็นตัวอย่างของกระจังใบเทศ และกระจังตาอ้อยก็ได้ เพราะว่าเมื่อเขียนบัวหงายหรือบังคว่ำ เมื่อย่อเล็กที่สุดก็ใช้กระจังฟันปลาแทน กระจังฟันปลาเป็นลายติดต่อได้ทั้งซ้าย และขวา (กระจังฟันปลามีซ้อน หนึ่ง-สอง-สามฯ แต่ในที่นี้จะใช้เฉพาะเรื่องการใช้ลายเท่านั้น)

กระจังตาอ้อย


  • ตาอ้อย หรือกระจังตาอ้อย ทรงตัวอยู่ในรูปสี่เหลี่ยมด้านเท่า มีทรงตัวเส้นอ่อนเรียวทั้งซ้าย และขวาปลายยอดแหลมมีบาก (คือหยัก) ทั้งสองข้าง เมื่ออยู่เฉพาะตัวเดี่ยวๆเรียกว่าตาอ้อย เมื่อเข้าประกอบเป็นลายติดต่อซ้ายและขวา เช้น เขียนเป็น ลายบัวหงายบัวคว่ำเป็นตัวอย่างของใบกระจังเทศ เช่นเดียวกับ กระจังฟันปลา แต่เป็นตัวย่อตัวที่สองรองจากกระจังฟันปลา เป็นลายติดต่อซ้ายและขวา
กระจังใบเทศ 
  • กระจังใบเทศมีทรงภายนอกอ่อนเรียวเหมือนกระจังตาอ้อย อยู่ในรูปสี่เหลี่ยมด้านเท่าเช่นเดียวกัน แต่ภายในตัวมีสอดไส้แต่ หนึ่ง-สอง-สาม ขึ้นไป กระจังใบเทศมีวิธีแบ่งตัวได้ หรือสอดไส้ได้หลายวิธี เมื่อตัวยิ่งโตขึ้นก็ยิ่งแบ่งตัวมากขึ้น และใส่ตัวซ้อนมากขึ้น การแบ่งจังหวะรอบตัวของกระจังใบเทศนี้ เรียกว่า “แข้งสิงห์” เมื่อตัวกระจังใบเทศใบยิ่งโตขึ้นเท่าใด แข้งสิงห์ก็จำต้องแบ่งตัวตามขึ้นไปด้วย การแบ่งแข้งสิงห์ให้เป็นลำดับติดต่อกันไม่ได้ ก็เท่ากับเขียนกระจังใบเทศไม่เป็น
วิธีแบ่งแข้งสิงห์ 
  • ทรงของแข้งสิงห์อยู่ในรูปสี่เหลี่ยมทแยงมุม หรือยาวกว่ารูปสี่เหลี่ยมทแยงมุมเล็กน้อย แต่ต้องไมแคบกว่าสี่เหลี่ยมทแยงมุม วิธีแบ่งแข้งสิงห์ตามลำดับ(ดูแบบ)
  • ตัวหนึ่งมีบาก
  • ตัวที่สองมีบากและมีขมวด
  • ตัวที่สามและตัวที่สี่มีสอดไส้และบาก
  • ตัวห้ามีขมวดและแบ่งสิงห์ซ้อน
  • ตัวหกมีกาบอ่อน(แข้งสิงห์ตัวต้น) ละมีสอดไส้ และมีแข้งสิงห์ซ้อนแข้งสิงห์
  • ตัวเจ็ดเป็นวิธีแบ่งแข้งสิงห์ตัวที่สุด
  • เมื่อถึงยอดก็ต้องทำยอดสบัดเป้นตัวกนก (ตัวหนึ่งไม่ได้แสดงเอาไว้เมื่อเอาไว้ขมวดตัวสองออกก็เป็นตัวที่หนึ่ง)
กระจังหู กระจังหูหรือกระจังปฏิญาณ มีทรงอยู่ในรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้างสองส่วน สูงสามส่วน(ดูแบบ)ตอนบนมีทรงเหมือนกระจังใบเทศ แล้วต่อก้านลงมาอีกครึ่งส่วนซ้ายและขวา มีตาอ่อนหรือกระจังใบเทศห้าม แต่ภายในตอนล่างมีกาบทั้งซ้ายและขวา เช่นเดียวกับกระจังใบเทศ วิธีแบ่งตัวมีเป็นลำดับคล้ายกระจังใบเทศ ตัวโตขึ้นก็มีการแบ่งตัวมากขึ้นไปกระจังรวน

  • กระจังรวน มีส่วนเหมือนกระจังหูทุกส่วน ตลอดจนแบ่งตัวทุกอย่างเหมือนกันทั้งหมด แต่ใช้ยอดลงปลายยอด(ยอดเฉ)ยอดบัดไปทางซ้ายหรือขวาก็ได้ เป็นลายติดต่อซ้ายขวา
กระจังหูหรือกระจังปฏิญาณ มีทรงอยู่ในรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้างสองส่วน สูงสามส่วน(ดูแบบ)ตอนบนมีทรงเหมือนกระจังใบเทศ แล้วต่อก้านลงมาอีกครึ่งส่วนซ้ายและขวา มีตาอ่อนหรืพุ่มทรงข้าวบิณฑ 
  • ลายพุ่มทรงข้าวบิณฑ มีส่วนกว้างสองส่วน สูงสามส่วน วิธีเขียน สองส่วนตอนบนเขียนอย่างใบกระจังเทศแต่ให้สั้น เอายอดลงต่อกับตอนบน เท่ากับเขียนกระจังใบเทศสองตัวกัน รอบตัวของพุ่มทรงข้าวบิณฑ มีแบ่งแข้งสิงห์เหมือนกับกระจังเทศ แต่ตอนที่แข้งสิงห์ต่อกัน ระหว่างตอนบนกับตอนล่างน้นใส่ตัวห้าม พุ่มทรงข้าวบิณฑใช้เป็นี่ออกลายเป็นลายดอกลอย และยังใช้เข้าประกอบกับลายอื่นๆ ได้อีก
กระจังใบเทศห้าม แต่ภายในตอนล่างมีกาบทั้งซ้ายและขวา เช่นเดียวกับกระจังใบเทศ วิธีแบ่งตัวมีเป็นลำดับคล้ายกระจังใบเทศ ตัวโตขึ้นก็มีการแบ่งตัวมากขึ้นไป ประจำยาม 
  • ลายประจำยาม ทรงอยู่ในรูปสี่เหลี่ยมทแยงมุม ประกอบด้วยวงกลมกับตัวกระจังใบเทศ ถ้าเป็นตัวย่อเล็กก้ใช้กระจังตาอ้อนแทน ลายประจำยาม ไม่เฉพาะแต่ใช้กระจังใบเทศ จะใช้กระจังหู พุ่มทรงข้าวบิณฑก็ได้ ลายประจำยามอยู่ในจำพวกดอกลอยและใช้เป้นแม่ลาย คือที่ออกลายหรือใช้เป็นที่ห้ามลาย
รักร้อย 
  • ลายรักร้อยประกอบด้วย ลายประจำยามและกระจังใบเทศ หรือกระจังตาอ้อยลายรักร้อย ใช้ลายประจำยามเป็นที่ออกลาย เอากระจังใบเทศหรือกระจังตาอ้อยเรียงต่อกันไปทั้งซ้ายและขวาจนถึงที่ๆต้องการ ลายรักร้อยเป้นลายช่วยประกอบกับลายอื่นๆ โดยมากไม่มีใช้เฉพาะตัวของมันเอง ถ้าเป้นลายรักร้อยใหญ่ ใช้วิธีแบ่งตัวเหมือนกระขังใบเทศหรือจะเอาวิธีแบ่งตัวของกระจังหูมาใช้ก็ได้
บัวหงาย และ บัวคว่ำ 
  • บัวหงายและบัวคว่ำ ประกอบด้วยกระจังตาอ้อย หรือกระจังใบเทศ ใช้เขียนต่อกันไปทั้งซ้ายและขวา จนถึงที่เราต้องการ แล้วใช้กระจังใบเทศ ใช้เขียนต่อกันไปทั้งซ้ายและขวา จนถึงที่เราต้องการ แล้วใช้กระจังครั้งตัวห้ามทั้งสองข้าง ระหว่างตัวที่ว่างใช้กระจังแทรก ตัวแทรกนี้คือตัวกระจังนั้นเอง เอาเฉพาะตอนยอดของกระจังมาใส่ถ้าเป็นลายยังขนาดโตก็ใช้ตัวแทรกขึ้นไปเป้นลำกับลายบัวหงาย-บัวคว่ำ เป็นชายช่วยประกอบลายอื่นๆ ไม่มีใช้เฉพาะตัวของมันเอง หมายเลข๑บัวหงาย หมายเลข๒บังคว่ำ.
ช่อแทงลาย และ กรุยเชิง 
  • ช่อแทงลาย คือเอาตัวกระจงใบเทศเขียนทรงตัวให้สูงขึ้น หรือ ทรงยาวเพรียวขึ้นประมาณสองส่วนของส่วนกว้าง ที่ว่างใส่ตัวแรก ถ้าใส่แทรกตัวหนึ่งแล้วยังมีที่ว่างใส่ได้อัก วิธีแบ่งตัวทำเช่นเดียวกับลายบัวหงายบัวคว่ำ วิธีประประดิษฐ์ลายช่อแทงลาย เอากระจังหูหรือพุ่มทรงข้าวบิณฑมาใช้ก็ได้
  • กรุยเชิง ก็ใช้กระจังใบเทศ หรือกระจังหู พุ่มทรงข้าวบิณฑ มาเขียนทรงให้ยาวประมาณสามส่วน และต่อยอดยาวเป็นเส้นอย่างกรุ่ยผ้า ใช้ให้ยาวไปเท่าใดก็ได้แล้วแต่จะเหมาะสม แต่ต้องให้ยอดลง ถ้าจะใช้กระจังหูหรือพุ่มทรงข้าวบิณฑมาประดิษฐ์เป็นกรุยเชิงการใส่ตัวแรกแทรกใช้ต่างกัน คือใช้ตัวแทรกไม่ทับกัน ใช้ตัวแทรกมาก้านต่อ(ดูแบบลายกรุยเชิงที่ประกอบครบถ้วน)ช่อแทงลาย หรือ กรุยเชิงนี้ เป็นลายช่วยประกอบลายอื่นเฉพาะตัวของมันเอง
กนกสามตัว 
  • กนกสามตัวจัดว่าเป็นแม่ลายที่สำคัญมาก เท่ากับเป็นแม่บทของกนกต่างๆทุกชนิดเพราะกนกทุกชนิดก็ได้แยกออกไปจากนกสามตัวและตอนยอดก็ใช้เหมือนกนกสามตัวให้อ่อนลื่นลงไป กาบบนคงใช้ตามทรงเดิมของกนกสามตัวการเขียนกนกตัวอื่นๆก็คล้ายคลึงกัน มีเพิ่มกาบมากบ้างน้อยบ้าง และบางตัวกนกก็ใช้ขมวดยอดลายและกาบ ก็เกิดเป็นรูปตัวกนกต่างๆแต่ทรงของตัวกนกคงเหมือนเดิมกับกนกสามตัวทั้งนั้นฉะนั้น การฝึกหัดเขียนจำต้องเขียนให้จำได้แม่นยำจริงๆ เมื่อจำกนกสามตัวได้แน่นนอนแล้ว การเขียนตัวกนกอื่นๆต่อไปก็จะจำได้ง่าย 
  • วิธีฝึกหัดเขียนที่ดี ใช้ว่าเพียงแต่จำทรงตัวกนกได้แบ่งกาบถูกต้อง ทำยอดกนกได้ดีเท่านั้น จำจะต้องเขียนตัวกนกให้ยอดหันเหไปได้รอบตัว โดยไม่ต้องหมุนกระดาษที่เขียนไปคือเขียนตัวกนกให้ยอดลง ให้ยอดไปข้างซ้ายหรือข้างขวา หรือยอดให้เฉียงไปทางใดก็ได้นอกจากนี้ยังต้องเขียนกนกย่อ และขยายให้เล็กโตเท่าใดก็ได้ตามความต้องการ จึงจะจัดว่าเขียนตัวกนกได้ดี 
  • และตัวกนกมีความสำคัญอยู่อีกประการหนึ่ง เช่น กนกสามตัวๆที่สามคือกาบบนกาบล่างที่ซ้อนกันอยู่ในตัวกนกนั้น เมื่อถึงการประดิษฐ์ลายก็แยกเอากาบเหล่านี้มาประกอบสลับติดต่อกัน มีกาบเล็กบ้างโตบ้าง ก็จะเกิดเป็นเถาลายขึ้น ความสำคัญของตัวกนกมีอยู่ดังนี้ การฝึกหัดเขียนที่ดีควรทวนความจำทุกวันไม่มากก็น้อย
กนกเปลว 
  • กนกเปลวมีทรงเหมือนกนกสามตัว แต่กาบล่างของกรกเปลวต่างกัน ไม่มีแง่หยักเหมือนกนกสามตัว(ดูแบบตัวที่สาม)เขียนลื่นๆและการสอดไส้กาบ คือการแบ่งกาบก็ต่างกัน ส่วนกาบบนและยอดคงเหมือนกับกนกสามตัว ส่วนกาบล่างแบ่งต่างกันการฝึกหัดคงเหมือนกนกสามตัวทุกอย่าง
กนกใบเทศ
  • กนกใบเทศมีทรงเหมือนกนกสามตัว แต่การแบ่งตัวของกนกใบเทศ ใช้ใบเทศเกาะติดอยู่กับก้าน หรือเป็นแข้งสิงห์เกาะอยู่กับก้านก็ได้ แต่การวางจังหวะใบเทศหรือแข้งสิงห์จะต้องให้อยู่ในทรงของกาบกนกสาตัว ฉะนั้น เมื่อจะวางแข้งสิงห์หรือตัวใบเทศจะต้องร่างทรงกาบของกนกสามตัวเสียก่อน แล้วจึงวางใบเทศหรือแข้งสิงห์ ส่วนตัวยอดเขียนให้ยอดสบัดเหมือนกนกสามตัว วิธีแบ่งใบเทศ แบ่งตัวอย่างกระจังใบเทศ ถ้าจะทำให้เป็นแข้งสิงห์(ดูแบบตัวที่สาม) การฝึกหัดเขียนปฏิบัติเช่นเดียวกับกนกสามตัว

เทศหางโต 
  • เทศหางโต หรือ หางโต มีลักาณะรูปร่างเหมือนกนกใบเทศตลอดจนส่วนประกอบก็เช่นเดียวกัน แต่ผิดกันก็ตอนบนของหางโต ใช้ทรงพุ่มทรงข้าวบิณฑต่อจากก้านหรือจะใช้ใบเทศต่อก้านก็ได้ เมื่อถึงตอนยอดก็ให้ยอดสบัดเหมือนกนกสามตัว(ดูแบบตัวที่สาม)เทศหางโต หรือ หางโต เมื่อเข้าลายหรือผูกลายจะใช้ปนกับกนกใบเทศก็ได้การฝึกหัดเขียนปฏิบัติเช่นเดียวกับกนกสามตัว
ตัวย่อของกนกตามลำดับ 
  • การที่จะผูกลายหรือประดิษฐ์ลาย จำเป็นต้องรู้จักเขียนตัวย่อ ของกนกที่เล็กที่สุดจนถึงตัวที่ใหญ่ขึ้นไปด้วย เพราะว่าการผูกลายนั้น ถ้าเขียนตัวกนกหรือกาบลายมีขนาดเท่ากันไปหมดทุกตัวแล้ว ก็จะไม่เป็นลายที่งาม ลายที่งามจะต้องมีจังหวะมีระยะตัวกนกเล็กบ้างโตบ้าง กาบก็เช่นเดียวกัน ต้องมีเล็ก มีโต มีแบ่งสอง แบ่งสาม สุดแต่ลายที่เขียนนั้นมีเนื้อที่เล็กหรือใหญ่ถ้ามีเนื้อที่ใหญ่ ก้จะผูกลายได้งามเพราะจะได้แสดงวิธีแบ่งตัวต่างๆได้หลายอย่าง(ตามภาษลายเรียกว่า มีลูกเล่นมาก) ซึ่งเป็นการแสดงความสามารถของผู้เขียน ฉะนั้นการย่อหรือการขยายตัวลายนี้ จัดว่าเป็นสำคัญอย่างหนึ่ง
    • แบบที่ ๑ ย่อและขยายกาบซ้อน จนถึงยอดสบัด
    • แบบที่ ๒ ย่อและขยายไส้ขมวด จนถึงยอดสบัด
    • แบบที่ ๓ ย่อและขยายตัวใบเทศ
  • วิธีเขียนย่อหรือขยายลายนี้ จะเป็นกนกชนิดก็เขียนเช่นเดียวกัน ถ้าหากว่าเป็นกนกหัวกลับ และกนกผักกูด(กนกเขมร)ก็ใช้ยอดขมวด
ลายหน้ากระดาน 
  • ลายหน้ากระดานเป็นลายติดต่อซ้ายและขวา จะต่อกันได้เรื่อยๆไปไม่มีที่สิ้นสุด เมื่อต่อกันไปพอกับความต้องการแล้ว จะหยุดต้องใส่ตัวห้าม ตัวห้ามนี้คือตัวประจำยามนั่นเองแต่เขียนให้โตกว่าตัวลายที่ประกอบอยู่ในลายหน้ากระดาน หรือจะใช้กระจังหูห้ามก็ได้ แล้วแต่ลักษณะของลายที่เขียน ควรจะใช้อย่างใดห้าม
      แบบที่ ๑ เป็นลายหน้ากระดาน ประจำยามก้ามปู ก้ามปูคือมีตัวประจำยามอยู่กลางและมีกนกติดอยู่ทั้งสองข้าง และมีตัวประจำยามคั่น รวมเรียกว่า “ลายประจะยามก้ามปู”เป็นลายที่ใช้ในรูปจำกัด จะต้องมีจังหวะที่เขียนตัวประจำยามและก้ามปูได้พอเหมาะกับเนื้อที่
     
  • ลายหน้ากระดานแบบที่ ๒
      แบบ๒ เป็นลายหน้ากระดาน ลูกฟักก้ามปู ลูกฟักคือ มีตัวประจำยาม และต่อด้วยกระจังใบเทศทั้งสองข้าง เป็นตัวคั่นระหว่างก้ามปู รวมเรียกว่า “ลายลูกฟักกามปู”เป็นลายที่ขยายให้ยาวต่อไปอีก เป็นลายที่ไม่จำกัดเนื้อที่ใช้ได้ตามความพอใจ
     
  • ลายหน้ากระดานแบบที่ ๓
      แบบ ๓ เป็นลายก้านแบ่ง มีตัวประจำยามคั่นเป็นที่ออกลายและเป็นที่ห้ามลายไปในตัวมันเอง ระหว่างตัวประจำยาม มีเถาลายและกนกยอดสลับกัน รวมเรียกว่า”ลายประจำยามก้านแย่ง”เป็นลายที่ขยายเนื้อที่มากกว่าลายประจำยามก้ามปู ลายประจำยามก้านแย่งมีวิธีเขียนหลายอย่าง
     
  • ลายหน้ากระดานแบบที่ ๔
      ลายหน้ากระดานทั้งสามแบบนี้ แสดงถึงการใช้เนื้อที่วางจังหวะตัวประจำยามต่างกันลายหน้ากระดานมีอยู่มากด้วยกันหลายชนิด เรียกชื่อต่างๆกันเป็นลายช่วยประกอบกับลายอื่น และจะใช้เฉพาะตัวเองของมันก็ได้ เช่นเขียนลายกรอบรูปจะเป็นรูปสี่เหลี่มหรือรูปวงกลม จะเอาลายหน้ากระดานมาใช้ก็ได้
    หมายเลข ๑ ลายประจำยามก้ามปู ๒ ลายประจำยามแก้มแย่ง ๓ ลายลูกฟักก้ามปู

 

ประกอบลายฐาน

  • การใช้ลายเข้าประกอบเป็นรูปจัดว่าสำคัญมาก เพราะการใช้ลายจะใช้ไปตามใจชอบไม่ได้ ต้องใช้ให้ถูกเรื่องของมัน ต้องรู้ว่าอะไรต่อกับอะไรได้ และอะไรติดกันไม่ได้ซึ่งเป็นสิ่งที่ควรระวังให้มาก
  • ลายฐานหรือลายแท่นแบบหนึ่ง ประกอบด้วยลายหน้ากระดาน ลายบัวหงายบังคว่ำและลายท้องไม้ 
  • ลายฐานหรือลายแท่นแบบสอง ประกอบด้วยลายหมายเลข๑ ลายหน้ากระดานเลข ๒ คือเส้นลวดขึ้นระหว่างลายต่อลาย เลข๓ ลายบัวหงาย เลข๔ลายทองไม้ เลข๕ลายลูกแก้ว เลข๖ ลายบัวคว่ำ เลข๗ ลายหน้ากระดาน 
  • จงสังเกตุลายแท่นทั้งสองนี้ มีอะไรต่างกัน และใช่อะไรที่ซ้ำกัน เช่น แบบหนึ่งมีท้องไม้อันเดียว แบสองมีท้องไม้ขนาบลูกแก้วทั้งข่างล่างและข้างบน เป็นที่สังเกตุว่าท้องไม้เมื่อเล็กลงมากก็มีแต่เส้นว่าง แต่เส้นว่างนั้นต้องใหญ่หรือเล็กกว้างกว่าเส้นกันลาย นี่เป็นวิธีหนึ่งของการใช้ลาย (ซึ่งจะให้เห็นวิธีเขียนบัวอีกหลายชนิด ประกอบอยู่ในรูปต่างๆ)

 

เครื่องประกอบลาย

  • เครื่องประกอบลาย แบบ๑
      การเขียนลายหรือผูกลายที่งามนั้น ก็ต้องมีเครื่องตบแต่งประกอบเพื่อส่งเสริมให้ลายที่เขียนนั้นงดงามดูวิจิตรพิสดาร เครื่องตบแต่งนี้ก้คือเครื่องประลายนั้นเอง เครื่องประกอบลายต่างๆมีอยู่ในกนกสามตัวทั้งนั้น ได้ถอดเอาออกมาและแยกเป็นส่วนๆ ออกเป็นกาบช้อนออกเป็นตัวกนก, และออกเป็นยอดลายก้านขด
     
  • เครื่องประกอบลาย แบบ๒
      ลายไทยมีอยู่หลายอย่างหลายชนิดด้วยกัน สำหรัยใช้ในงานแต่ละอย่าง และยังมีวิธีเขียนต่างกันด้วย เช่นเขียนลายถม, ลายลงยาสี, ลายตัวนูน เช่นปั้น, สลัก, แกะไม้ และปักดิ้นปักไหมลายฉลุ ฯลฯ เขียนลายชนิดไหนก้ใช้เครื่องประกอบลายชนิดนั้นให้มากเช่นเขียน ลายนกใบเทศประกอบเถาให้มาก นอกจากใช้กาบต่างๆประกอบเป็นเถาหนึ่งให้ออกไปเป็นอีกเถาหนึ่งนั้น ระหว่างที่จะแยกจากเถาต้องมี นกคาบ, กาบคู่หรือกาบไขว่เสมอไป(ดูกกผูกลายบทที่ ๒๖) ในแบบนี้แถวบนเป็นเครื่องประกอบลายใบเทศ และตอนล่างทั้งหมดเป็นที่แยกลาย ฉะนั้นการเขียนกาบและนกคาบเหล่านี้ต้องเขียนซ้ำๆกัน ให้จำได้อย่างแม่นยำ เพื่อสะดวกในเวลาคิดผูกลาย

    ทรงตัวกนก และกาบหันเหได้ 
    • การใช้กาบและตัวกนกเมื่อเวลาเข้าประกอบลาย ตัวกนกและกาบยอดจะหันเหไปทางไหนก็ได้ สุดแล้วแต่ความต้องการ แต่ต้องรักษาทรงตัวอย่าให้เสีย เพราะว่าการผูกลายกาบหรือตัวกนก กาบหรือตัวกนกย่อมไม่คงที่ อาจมีตัวเล็กตัวโต กาบเล็กและกาบใหญ่ สุดแล้วแต่เนื้อที่และการใช้ช่องไฟพื้น
    • Credit : http://kamonnat55.wordpress.com/2012/06/27/%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99/


วันศุกร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2556


ลายไทย
การเขียนภาพลายไทยนี้มีมาตั้งแต่โบราณ ผู้เขียนภาพลายไทยในกาลก่อนมีความรู้สึกนึกคิด ตามสิ่งที่เกิด ขึ้นตามธรรมชาติ แล้วนำมาเขียนเป็นลวดลายหรือภาพต่างๆ ต่อมาได้รับอิทธิพล จากต่างชาติ โดยเฉพาะ ชาวอินเดีย ได้นำศิลปะหลายแขนงเข้ามา ครูอาจารย์คนไทย ก็ได้เรียนรู้จากอาจารย์เหล่านั้น แล้วนำมาผสม ผสานกับศิอลปดั้งเดิม ของคนไทยสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบันนี้ หลักฐานตามประวัติศาสตร์ลายไทย ได้เริ่ม ขึ้น ตั้งแต่สมัยเชียงแสน สืบทอดกันมาที่สุโขทัย อยุธยา และรัตนโกสินทร์ แต่เดิมมีแต่ช่างตามวัดต่างๆ ต่อมาช่างเหล่านั้นได้ถวายตัวเพื่อรับใช้พระเจ้าแผ่นดินเรียก “ช่างหลวง” หรือ “ช่างสิบหมู่

ปฐมกำเนิดลายไทย

        อันเแบบแผนลายไทยเท่าที่ปรากฏ ให้เห็นอยู่ทุกวันนี้ ถือได้ว่าเป็นแบบแผนตายตัว เนื่องด้วยลายไทยได้วิวัฒนาการตัวเอง ตั้งแต่สมัยสุโขทัย อยุธยา และรัตนโกสินทร์ จนสู่จุดสมบูรณ์ กลายเป็นเอกลักษณ์ของชาติไทยจนถึงทุกวันนี้
        ที่จริงในสมัยก่อนกรุงศรีอยุธยา ลายไทยมิได้มีรูปร่างหน้าตาอย่างที่เราเห็นกันทุกวันนี้ จากการค้นคว้าลายรุ่นเก่า บนลายปูนปั้นและลายจำหลักศิลา บนใบเสมารุ่นอู่ทอง และสุโขทัย ซึ่งพบทั่วไปในดินแดนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ในท้องที่ของนครเก่าแก่ ตั้งแต่สมัยสุโขทัยเรื่อยมา ลงไปสุดใต้ที่นครศรีธรรมราช ลายอันปรากฏนั้น มิได้เป็นลายที่สืบต่อมาจากขอม หรือ ทวารวดี หากแต่เป็นลายที่ เกิดขึ้นจากการ "สลัดแอกอิทธิพลอินเดีย" เข้าสู่ความเป็นตนเอง โดยจะมีลักษณะเหมือนธรรมชาติ คือเป็นลายเครือเถา ลายก้านขด ประกอบด้วยรูปดอกไม้ ใบไม้ รูปนก สัตว์จตุบาท (สัตว์ ๔ เท้า) ทวิบาท (สัตว์ ๒ เท้า) ต่างๆ ซึ่งลายลักษณะนี้ เป็นลายคนละตระกูล กับลายอันมีอิทธิพลจากอินเดีย
        ลายไทยนั้นได้มีวิวัฒนาการ และพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง โดยนับเริ่มต้นได้ตั้งแต่ ในสมัยอู่ทอง อโยธยา สุโขทัย ลายไทยในสมัยอยุธยาตอนต้น ตอนกลาง ลายไทยอันสง่างาม เลื่อนไหลเเป็นเปลวไฟ ในสมัยอุธยายาตอนปลาย จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ และศิลปะของเมืองหลวงปัจจุบัน

 ลายไทยในสมัยโบราณ แบ่งออกเป็น 4หมวด ได้แก่

        1. หมวดกระหนก หมายถึง การเขียนลวดลายไทยต่างๆ เช่น กระหนกสามตัว กระหนกใบเทศ กระจังตาอ้อย ประจำยาง เป็นต้น
        2. หมวดนารี หมายถึง การเขียนภาพคน เช่น ภาพพระ ภาพนาง ภาพเทวดา เป็นต้น ซึ่งต้องฝึกเขียนรูปร่าง ใบหน้า และกิริยาท่าทางต่างๆของคน รวมถึงภาพจับ
        3.หมวดกระบี่ หมายถึง การเขียนภาพลิง ภาพยักษ์ อสูร และพวกอมนุษย์ต่างๆโดยมากจะยึดเอายักษ์ และลิงที่เป็นตัวเอกในเรื่องรามเกียรติ์เป็นหลัก
        4.หมวดคชะ หมายถึง การเขียนภาพสัตว์ต่างๆ ได้แก่ สัตว์ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ เช่น ช้าง ม้า วัว ควาย เสือ สิงห์ กระทิง แรด เป็นต้น และสัตว์ในวรรณคดีที่เกิดจากจินตนาการของช่างเขียนหรือเราเรียกว่า สัตว์หิมพานต์ มีรูปร่างประหลาด เช่น ราชสีห์ คชสีห์ กินรี ครุฑ หงส์ เป็นต้น
        การเขียนลายไทยนั้นต้องฝึกการเคลื่อนไหวของมือ การฝึกเขียนเส้นให้มีความลื่นไหล อ่อนช้อยมีลีลาและจังหวะที่สอดรับสัมพันธ์กันอย่างลงตัว ควรคำนึงถึงช่องไฟของลายการล้อของลาย และควรที่จะฝึกเขียนมากสักหน่อย เพื่อที่จะเป็นพื้นฐานที่ดีในการเขียนลายไทยต่อๆไป

 ศิลปภาพลายไทย

        ชาติไทยเราได้รับมรดกตกทอดทางศิลปมาแต่บรรพบุรุษ อันหาค่ามิได้ และงดงามทางศิลป ทำให้ผู้ที่ได้พบเห็นศิลปไทย รู้สึกติดตาตรึงใจ ที่ได้เห็นสิ่งมหัศจรรย์อันน่าตื่นตาตื่นใจ ทำให้เกิดปิติ ความสงบ และความสุขสบายใจ

 ภาพมโหรีหญิง

ภาพ:Tha2.gif
        แสดงการเล่นดนตรีไทย มีดีด สี ตี เป่า เครื่องดีด-กระจับปี่ ,เครื่องสี-ซอสามสาย ,เครื่องตี-กรับ ฉิ่ง และโทน , เครื่องเป่า-ขลุ่ย ได้แบบอย่างมาจากถาพจิตรกรรมฝาฝนัง สมัยรัตนโกสินทร์ ในพระที่นั่งพุทไธศวรรย์

 ภาพกินรี

ภาพ:Tha3.gif
        แสดงถึงความอ่อนหวาน ของดอกไม้ (ดอกบัว) จากอีกตัวหนึ่ง ภาพนี้แสดงให้เห็นลักษณะ ลีลาของการนั่ง ซึ่งเป็นครึ่งคนครึ่งนก และการยืนพักอิริยาบททั้งสอง ตลอดจนศิราภรณ์ และเครื่องตกแต่งร่างกาย

 ภาพกินนร

ภาพ:Tha4.gif
        คือมีทั้งเพศหญิงและเพศชาย ซึ่งเรียกว่า กินรี และกินรา ในภาพแสดงให้เห็น กินรากำลังขอความรัก หรือความเห็นใจจากกินรี ซึ่งกินรีก็ได้แต่เอียงอาย ตามวิสัยเพศหญิงอันพึงมี

 ภาพฟ้อนรำหญิงชาย

ภาพ:Tha5.gif
        ได้แบบอย่างจากลายรดน้ำ ซึ่งเขียนเป็นฉาก อยู่ในพระที่นั่งพิมานรัตยา ในเขตพระราชฐานฝ่ายใน ในพระบรมมหาราชวัง

 ภาพจิตรกรรมฝาฝนัง

ภาพ:Tha6.gif
        ระเบียงวัดพระแก้ว เรื่องรามเกียรติ์ แสดงให้เห็นตอน หนุมานอาสาลวงเอากล่องดวงใจทศกัณฑ์ จากพระฤๅษีโคบุตร อาจารย์ทศกัณฐ์ แล้วขอให้พระฤๅษีนำเข้าเฝ้าถวายตัว อาสาทศกัณฐ์นำจับพระราม

 ขั้นตอนการฝึกเขียนลายไทย


 1 การเขียนแม่ลายกระจัง

ภาพ:Tha7.gif
        แม่ลายกระจัง เป็นแม่ลายพื้นฐานอย่างหนึ่งในการเขียนลายไทย มีรูปทรงมาจากดอกบัวและตาไม้ ตัวอย่างแม่ลายในบทเรียนนี้ เรียกว่า กระจังตาอ้อย ถ้าเราเป็นคนช่างสังเกต จะเห็นว่า ตามข้อของต้นอ้อยหรือปล้องไผ่ จะมีตาไม้อยู่ ซึ่งมีรูปร่างเช่นเดียวกับลายในบทเรียนนี้ ซึ่งนับได้ว่า เป็นความช่างสังเกตของช่างไทย ในการประยุกต์รูปแบบธรรมชาติ มาประดิษฐ์เป็นลวดลายที่งดงามได้ ในบทเรียนนี้จะทำการฝึกเขียนลาย โดยมีตัวลายซ้อนกันอยู่ 2 ชั้น ซึ่งลายที่อยู่ภายในนั้น เรียกว่า ไส้ลาย (เส้นจะบางกว่า) การเขียนลายไทยนั้น ความสำเร็จขึ้นอยู่กับการฝึกฝน และเป็นคนช่างสังเกต ถ้ามีการฝึกเขียนมากเท่าไหร่ ความชำนาญจะเพิ่มมากขึ้น หากหมั่นสังเกต ก็จะสามารถเปรียบเทียบได้ว่า รูปทรงจากการฝึกหัด มีความสมบูรณ์สวยงาม เทียบกับต้นแบบได้หรือไม่

 ขั้นตอนการเขียนแม่ลายกระจังตาอ้อย

        1.) เริ่มด้วยการเขียน โครงรูปสามเหลี่ยม โดยมีความสูงจากฐาน
        1.5) นิ้ว กว้าง ๒ นิ้ว และลากเส้นแบ่งกึ่งกลาง ข้างละ ๑ นิ้ว
        2.) เมื่อได้รูปสามเหลี่ยมสมบูรณ์แล้ว จึงเริ่มวาด เส้นรูป แม่ลายกระจัง โดยเริ่มวาดจากยอดลาย โค้งลงมา ตามรูปทรงของลายกระจังตาอ้อย ทั้ง ๒ ด้านตามตัวอย่าง
        3.)จากนั้นจึงวาด ลายสอดไส้ ไว้ภายในตัวกระจัง การเขียนลายสอดไส้นี้ ใช้วิธีการเขียนเช่นเดียวกับการเขียนเส้นรูป แต่มีขนาดเล็กกว่า เสร็จสิ้นขั้นตอนการเขียนแม่ลายกระจัง

 2.การบากลาย

ภาพ:Tha8.jpg
        เมื่อคุณสามารถฝึกหัดเขียนลายกระจังตาอ้อยได้จนชำนาญแล้ว บทเรียนต่อมาก็คือการบากลาย การบากลายเป็นการเน้นตัวลายไม่ให้เรียบจนเกินไป และยังเพิ่มความสวยงามของรูปทรง ให้มีลักษณะเหมือนธรรมชาติอีกด้วย การบากลายมี 2 แบบคือ แบบที่ 1. การบากลายเข้า และแบบที่ 2.การบากลายออก โดยการใช้การบากลายแต่ละแบบ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของตัวลาย ที่จะนำไปใช้ประกอบในพื้นที่ต่างๆ

 วิธีการ บากลายเข้า

        1.) เริ่มต้นการวาด ด้วยการลากเส้นจากยอดลาย จนมาถึงกึ่งกลางของตัวลาย และทำการบากลายเข้าภายในตัวลาย พร้อมกับตวัดเส้นออก ให้เป็นเส้นโค้งพองามทั้งสองด้าน ตามตัวอย่าง
        2.) เริ่มต้นเช่นเดียวกับการบากลายเข้า แต่เมื่อลากเส้น จนถึงกึ่งกลางตัวลาย ให้ตวัดเส้นออก สังเกตดู จะมีลักษณะเป็นยอดแหลม เหมือนกลีบดอกไม้ ตามตัวอย่าง
        3.) การเขียนแม่ลายประจำยาม

 3.แม่ลายประจำยาม

ภาพ:Tha9.gif
        แม่ลายประจำยาม เป็นแม่ลายสำคัญอีกแม่ลายหนึ่ง ของการเขียนภาพไทย โดยรูปทรงทั่วไปจะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ตรงกลางเป็นรูปวงกลม มีสี่กลีบคล้ายกับดอกไม้ และกลีบทั้งสี่ก็มาจากรูปทรงของ แม่ลายกระจังตาอ้อยนั่นเอง ซึ่งแม่ลายประจำยามนี้ สามารถแตกแขนง ออกไปได้อีกมากมาย โดยการใส่ไส้ซ้อนเข้าไป จนดูหรูหรามากขึ้น และรูปทรงยังสามารถ เปลี่ยนจากสี่เหลี่ยมจัตุรัส เป็นสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนได้อีกด้วย ซึ่งทำให้เกิดความงาม ที่แตกต่างไปอีกแบบหนึ่ง

 วิธีการเขียนแม่ลายประจำยาม

        1.) เริ่มจากการเขียนรูป สี่เหลี่ยมจัตุรัสกว้าง 3 นิ้ว แบ่งกึ่งกลางข้างละ 1.5 นิ้ว และส่วนที่เป็นทรงกลม ตรงกลาง 1 นิ้ว ตามภาพตัวอย่าง
        2.) เมื่อได้รูปโครงร่างตามแบบแล้ว ขั้นต่อมาให้เขียนรูปวงกลมก่อน โดยกางวงเวียนออก รัศมีครึ่งนิ้ว วาดทั้งทรงกลมด้านในและด้านนอก โดยให้ทรงกลมด้านใน ที่เป็นไส้ลาย มีน้ำหนักเส้นเบากว่า ทรงกลมที่เป็นเส้นรูปด้านนอก
        3.) วาดกลีบดอกทั้ง ๔ กลีบ กรรมวิธีเช่นเดียวกับ การเขียนลายกระจังตาอ้อย (ในบทเรียนที่ 2.) โดยคุณจะเลือกเขียนให้กลีบ มีรูปแบบเป็น การบากลายเข้า หรือบากลายออกก็ได้
        4.) เมื่อวาดได้รูปทรงทั้งหมดแล้ว ขั้นสุดท้ายคือการใส่กลีบรองดอก ที่มุมเว้าทั้ง 4 เป็นอันเสร็จสมบูรณ์

 4.การเขียนแม่ลายพุ่มข้าวบิณฑ์

ภาพ:Tha10.gif
        บทเรียนนี้จะกล่าวถึง การเขียนแม่ลายพุ่มข้าวบิณฑ์ โดยพุ่มข้าวบิณฑ์นี้ เป็นรูปทรงที่บ่งบอกถึง วัฒนธรรมของชาวไทยโดยเฉพาะ คนไทยแต่โบราณ เมื่อจะถวายข้าวให้แก่พระสงฆ์ ก็จะนำข้าวนั้นวางบนพาน และโกยยอดให้แหลม ดังเช่นทุกวันนี้เราจะพบเห็นรูปทรงเหล่านี้ ได้ตามพานพุ่มต่างๆ ที่เราจะถวายหรือมอบให้ แก่บุคคลที่เราเคารพนับถือ ส่วนใหญ่จะประดับด้วยดอกไม้ เช่น ดอกบานไม่รู้โรยเป็นต้น แม่ลายพุ่มข้าวบิณฑ์นี้ก็เป็นหนึ่ง ในแม่ลายที่สำคัญ อีกแม่ลายหนึ่งของไทย เนื่องจากสามารถแตกแขนง ออกไปได้อีกมากมาย ตัวอย่างเช่น แม่ลายหางสิงห์โต ซึ่งรูปทรงส่วนหนึ่ง ก็มาจากแม่ลายพุ่มข้าวบิณฑ์นี้

 ขั้นตอนการเขียนแม่ลายพุ่มข้าวบิณฑ์

        1.) วาดโครงรูปสี่เหลี่ยมรูปว่าว ซึ่งเป็นโครงรูปของลายพุ่มข้าวบิณฑ์ กว้าง 2 นิ้ว สูง 3 นิ้ว การแบ่งรายละเอียดต่างๆ ดูได้จากภาพตัวอย่าง
        2.) เมื่อได้โครงแล้ว ก็เริ่มวาดรูปทรงหยดน้ำ ซึ่งเป็นไส้ในของลายพุ่มข้าวบิณฑ์ มีสองชั้น โดยวาดให้ไส้ลาย มีน้ำหนักเส้นอ่อนกว่า เส้นรูปหยดน้ำด้านนอก
        3.) เริ่มวาดเส้นโครงด้านนอกเบาๆ สำหรับเป็นเส้นนำ ในการเขียนกลีบลายด้านในต่อไป
        4.) ขั้นต่อไปเขียนกลีบด้านนอก ทั้งกลีบซ้ายและกลีบขวา โดยกลีบลาย จะเกาะกับรูปหยดน้ำ วีธีการเขียนเช่นเดียวกับการเขียนลายกระจังตาอ้อย แต่จะเขียนเพียงครึ่งเดียว
        5.) เขียนกลีบด้านบน ให้สังเกตว่า กลีบด้านบนจะมีลักษณะ ยื่นยาวกว่า ตามรูปทรงของตัวลาย
        6.) เขียนกลีบด้านล่าง โดยกลีบล่างจะมีลักษณะ กลมป้อมกว่า
        7.) เมื่อได้กลีบครบทั้งหมดแล้ว จึงสอดไส้ลาย ทั้งหมด 4 จุด
        8.) เขียนกลีบรองดอก ที่มุมเว้าด้านล่าง ให้ยื่นเป็นคู่ ออกมาเล็กน้อยพองาม เสร็จได้รูปทรง พุ่มข้าวบิณฑ์ที่สมบูรณ์

5.การเขียนแม่ลายกระหนก (ตัวเดียว)

ภาพ:Tha11.gif
        แม่ลายกระหนก นับเป็นแม่ลายที่สำคัญที่สุด ในการเขียนลายไทย เพราะถ้าคุณไม่สามารถ ฝึกเขียนลายกระหนก จนชำนาญแล้ว ก็จะไม่สามารถเขียนลายไทย ในขั้นต่อๆ ไปได้ ในบทเรียนนี้จะเป็นการฝึก การวาดกระหนกตัวเดียว และจะให้วาดสลับทั้งด้านซ้าย และด้านขวา โดยรูปทรงของตัวกระหนกนี้ มาจากรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก โดยส่วนหัวของกระหนกจะยื่น เลยจากรูปทรงสามเหลี่ยม ออกมาเล็กน้อย เพื่อให้ตัวกระหนก มีความพริ้วไหวมากขึ้น แต่ถ้าจะเขียนให้อยู่ภายใน รูปทรงสามเหลี่ยมก็ย่อมได้ แต่ตัวกระหนกที่ได้จะดูแข็งกว่า ความอ่อนช้อยจะลดลง

ขั้นตอนการเขียนแม่ลายกระหนก (ตัวเดียว)

        1.) เริ่มจากการวาดรูป สามเหลี่ยมมุมฉากขึ้นก่อน ส่วนสูง3 นิ้ว กว้าง 2 นิ้ว และที่มุมซ้ายวาด สามเหลี่ยมด้านเท่า เล็กๆ กว้างจากฐาน 2ซ.ม. สำหรับให้ตัวกระหนกเกาะ
        2.) เริ่มลากเส้นโค้ง จากฐาน (ตามภาพตัวอย่าง) พอถึงส่วนหัวกระหนก ให้วาดเส้นขด เหมือนกับก้นหอย แล้วลากเส้นต่อ จนถึงยอดลาย และตวัดลง ให้โค้งแหลม จนสุดโคนก้านตัวกระหนก ตามภาพตัวอย่าง
        3.) สำเร็จเป็นตัวกระหนก ส่วนเส้นเล็กๆ สีเทาที่อยู่ระหว่างกลาง ทั้งสองด้าน ของตัวกระหนกนั้น คุณจะวาดหรือไม่ก็ได้ ผมเพียงแต่เขียนนำไว้ให้ เพราะในบทเรียนต่อไปเส้นนำนี้ จะมีความสำคัญมาก ในการแบ่งตัวกระหนก เพื่อบากลาย หรือวาดขด สะบัดยอดลาย เป็นลายกระหนกหางไหล
        4.) เมื่อคุณสามารถวาดกระหนก ด้านขวาสำเร็จแล้ว ต่อไปคุณก็ควรหัดวาด ตัวกระหนกที่พลิกกลับด้านซ้ายด้วย เพราะในการใช้งานจริงๆ นั้น จำเป็นต้องเขียนได้ ทั้งด้านซ้าย และด้านขวา วิธีการวาดก็เช่นเดียวกับ การวาดตัวกระหนกด้านขวา

6.การสอดไส้และบากลายกระหนก

ภาพ:Tha12.gif
        เมื่อคุณสามารถฝึกวาด กระหนกตัวเดียวแบบเปลือยๆ จากบทเรียนที่ ๕ ได้จนชำนาญแล้ว บทเรียนนี้จะให้คุณ ได้สอดไส้ตัวกระหนก และบากลายในลักษณะต่างๆ ซึ่งมีความแตกต่างกัน (โดยใช้ทั้งการบากลายเข้า และบากลายออก ในกระหนกตัวเดียวกัน) และใส่กาบใบ ให้กับตัวกระหนกด้วย ลักษณะกระหนกเช่นนี้ บางคราวก็เรียกกันว่า กระหนกใบเทศ เพราะมีรูปร่างเหมือนกับใบเทศ หรือใบของต้นพุดตาน (hibiscus) ซึ่งเป็นไม้ตระกูลชบา ดอกใหญ่ มีกลีบดอกซ้อนสวยงามมาก

 ขั้นตอนการสอดไส้และบากลายกระหนก

        1.) การเขียนโครงสามเหลี่ยมมุมฉาก ใช้ขนาดเดียวกับบทเรียนที่ ๕
        2.) เริ่มจากการวาดกาบใบเสียก่อน (คือส่วนที่เป็นสามเหลี่ยมด้านเท่า ในบทเรียนที่ ๕) โดยเขียนให้โคัง และตวัดยอดเหมือนกับยอดโค้งของใบไม้อ่อน และบากลายที่กึ่งกลางกาบ ดังภาพตัวอย่าง
        3.) สังเกตดูช่วงของการบากลายเข้า และออกได้จากภาพตัวอย่างนะครับ เริ่มลากเส้นจากโคน ตัวกระหนกและลากยาว จนถึงยอดลาย และตวัดกลับ แต่ระหว่างทางที่ลากเส้นนั้น จะมีการบากลายอยู่ตลอด สังเกตดูได้จากภาพตัวอย่าง
        4.) เมื่อได้ตัวกระหนกที่สมบูรณ์แล้ว ขั้นต่อมาก็คือการสอดไส้ลาย ให้วาดลายสอดไส้ ทั้งตัวกระหนก และกาบใบ ลักษณะเส้นจะอ่อนเบากว่า เส้นรูปของตัวกระหนกที่เข้มกว่า
        5.) เสร็จสมบูรณ์
        6.) การวาดตัวกระหนกพลิกกลับ ด้านซ้ายมือนี้ มีวิธีการเช่นเดียวกับ การวาดด้านขวามือ

 7.การเขียนหางไหล

ภาพ:Tha13.gif
        ลายหางไหล ส่วนใหญ่แล้วจะใช้ประกอบ เป็นยอดของตัวกระหนก โดยช่างไทยได้แรงบันดาลใจ มาจากหางของสัตว์จำพวกงู และเปลวเพลิง ลักษณะรูปร่างของหางไหล โคนหางจะอ้วน ส่วนปลายจะเรียวแหลม และจะสะบัดเลื้อยไปมา การฝึกเขียนหางไหลนั้น ค่อนข้างทำได้ยาก โดยผู้เรียนส่วนใหญ่ จะเขียนแล้วไม่สมดุลย์กัน ทำให้หางไหลนั้น ดูแล้วสะบัดไม่เป็นธรรมชาติ วิธีแก้ไข คือต้องหัดสังเกตจากบทเรียน หรือจากธรรมชาติใกล้ตัว และทดลองฝึกเขียนให้มาก ก็จะทำให้มีพัฒนาการที่ดีขึ้น

 ขั้นตอนการเขียนหางไหล

        1.) ให้วาดสามเหลี่ยมมุมฉาก ที่มีขนาดเดียวกับบทเรียนที่ ๕ และ ๖ ผิดกันแต่ ไม่ต้องวาดสามเหลี่ยมด้านเท่าเล็กๆ แต่ให้แบ่งกึ่งกลางขนาด ๑ นิ้วแทน เพื่อลากเส้นประนำ แบ่งกึ่งกลางของรูปสามเหลี่ยม
        2.)วาดเส้นโค้งจากโคนลาย เลื้อยมาเรื่อยๆ จนถึงยอดลาย และลากให้เลื้อยกลับ ให้สังเกตการโค้งของเส้น จะไปเล็กที่สุดคือส่วนยอดลาย เหมือนหางงู
        3.) ลากเส้นกึ่งกลางหนึ่งเส้น ให้คดโค้งไปตามรูปจนถึงยอดลาย

 8. การเขียนกระหนกเปลว

ภาพ:Tha14.gif
        เมื่อเรานำหางไหลมาประกอบกับกระหนก เราจะเรียกกระหนกนั้นว่า "กระหนกเปลว" เนื่องจากมีรูปทรงเหมือนเปลวไฟ ที่สะบัดเลื้อย พริ้วไหวไปมา โดยรูปทรงของกระหนกเปลวนี้ มีโครงของตัวหางไหลอยู่ แต่ถ้าหากคุณวาด โดยไม่มีโครงของหางไหล กระหนกที่ได้จะแข็ง ไม่สะบัดพริ้วเท่าที่ควร ช่างไทยที่ฝีมือดี ล้วนผ่านการวาดกระหนกชนิดนี้มาอย่างหนักทั้งสิ้น หัวใจของศิลปะไทยคือ ความอดทน ช่างสังเกตและขยันหมั่นฝึกฝนนั่นเอง

ขั้นตอนการเขียนกระหนกเปลว

        1.) ให้วาดสามเหลี่ยมมุมฉาก ที่มีขนาดและการแบ่งพื้นที่ เช่นเดียวกับบทเรียนที่ ๕ และ ๖
        2.) วาดเส้นโค้งในส่วนของกาบใบ (กาบเล็กๆ ที่เป็นส่วนของการงอกออก ของตัวลายกระหนกเปลว) ในพื้นที่สามเหลี่ยมเล็กๆ มุมซ้ายมือ
        3.) วาดเส้นโค้งจากโคนลาย ลากตวัดเป็นส่วนหัวของตัวกระหนก และลากเส้นลายมาเรื่อยๆ สะบัดเส้นให้เลื้อยเป็นเปลว จนถึงยอดลาย และลากให้เลื้อยกลับ โดยพยายามสังเกตทิศทางของเส้น ให้วาดเลื้อยไป เหมือนกับหางของงู และจบลงด้วยการตวัดเส้นโค้งกลับ มาที่กาบใบ
        4.) ลากเส้นกึ่งกลางหนึ่งเส้น ให้คดโค้งไปตามรูปจนถึงยอดลาย

 9.การสอดไส้และบากลายกระหนกเปลว

ภาพ:Tha15.gif
        เมื่อคุณสามารถฝึกวาดกระหนกเปลว จนชำนาญดีแล้ว ต่อไปคือการสอดไส้และบากลาย ให้กับตัวกระหนกเปลว ซึ่งกระหนกเปลวส่วนใหญ่ จะใช้ลายบากตัวละประมาณ ๖-๗ ตำแหน่ง (โดยสามารถเพิ่มหรือลด ตำแหน่งของรอยบากได้อีก ตามความเหมาะสม หรือตามขนาด ของตัวกระหนก) เมื่อมีการบากลายแล้ว ตัวกระหนกจะดูสวยงามมากขึ้น และเพิ่มพลังความพริ้วไหว ดุจเปลวเพลิง สมดังชื่อที่ตั้งอย่างแท้จริง

 ขั้นตอนการสอดไส้และบากลายหระหนกเปลว

        1. ให้วาดสามเหลี่ยมมุมฉาก ที่มีขนาดและการแบ่งพื้นที่ เช่นเดียวกับบทเรียนที่ ๕ และ ๖
        2. วาดเส้นโค้งในส่วนของกาบใบ (กาบเล็กๆ ที่เป็นส่วนของการงอกออก ของตัวลายกระหนกเปลว) ในพื้นที่สามเหลี่ยมเล็กๆ มุมซ้ายมือ พร้อมกับบากลายเข้าตามรูป
        3. วาดเส้นโค้งจากโคนลาย ลากตวัดเป็นส่วนหัวของตัวกระหนก และลากเส้นลายมาเรื่อยๆ (ถ้าคุณยังไม่ชำนาญ ควรร่างโครงของกระหนกเปลว ด้วยเส้นเบาๆ ก่อน) แล้วจึงสะบัดเส้นขึ้น และบากลายเข้าและออก ตามจังหวะของตัวลาย บากไปเรื่อยๆให้เลื้อยเป็นเปลว จนถึงยอดลาย และลากเส้นให้เลื้อยกลับ พร้อมกับบากลายตามภาพ โดยพยายามสังเกตทิศทางของเส้น ระหว่างการบากลาย ให้อยู่ในทรงของกระหนกเปลว ที่สะบัดยอดเป็นหางไหลด้วย
        4. สำเร็จเป็นรูปทรง กระหนกเปลว ที่สอดไส้และบากลาย เรียบร้อยแล้ว จึงสอดไส้ลายที่ตัวกระหนก และกาบใบ ด้วยเส้นที่อ่อนกว่าดังภาพ
        5. วาดกระหนกเปลว สอดใส้และบากลาย ที่พลิกกลับ ทางด้านซ้าย เช่นเดียวกับบทเรียนที่ผ่านมา วิธีการวาด ใช้เช่นเดียวกับการวาดด้านขวา